ไมเกรนคือ

แมกนีเซียมสำหรับอาการไมเกรน

ภาพรวม

แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อกระบวนการทำงานของร่างกายที่เหมาะสม แมกนีเซียมช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง, รักษาความดันโลหิตให้คงที่ และยังช่วยรักษาจังหวะการเต้นของหัวใจและการทำงานของระบบประสาท อาการแมกนีเซียมต่ำคือ อาการเหนื่อยล้า  ไม่อยากอาหาร อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดขมับ กล้ามเนื้อเป็นตะคริว รู้สึกเสียวซ่า และกล้ามเนื้อมีการหดตัว

ภาวะแมกนีเซียมต่ำมีส่วนเกี่ยวกับอาการปวดศีรษะและโรคไมเกรน พบว่าคนส่วนใหญ่โดยเฉลี่ยแล้วไม่ได้รับแมกนีเซียมที่เพียงพอจากการบริโภคอาหาร จากการ

ชนิดของแมกนีเซียม

ชนิดของแมกนีเซียมมีหลายชนิด ซึ่งบางครั้งในแต่ละชนิดอาจนำมาใช้ในการรักษาอาการเจ็บป่วยที่แตกต่างกันออกไป แมกนีเซียมยากที่จะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายหากปราศจากสสารตัวอื่นเป็นตัวนำพา เพราะเหตุนี้เองการรับประทานแมกนีเซียมจึงควรต้องทานร่วมกับสารอาหารตัวอื่น เช่นกรดอะมิโน

ชนิดของแมกนีเซียมทั่วๆไปที่ถูกนำมาใช้เป็นอาหารเสริม คือ:

●     แมกนีเซียมออกไซด์ มีส่วนประกอบของแมกนีเซียมที่มีระดับสูงและมักถูกนำมาใช้เพื่อรักษาอาการไมเกรน

●     แมกนีเซียมซัลเฟต เป็นแมกนีเซียมซึ่งมาในรูปแบบของสารอนินทรีย์ และเป็นอาหารเสริมที่ปริมาณน้อยที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้

●     แมกนีเซียม คาร์บอเนต มีระดับแมกนีเซียมที่สูงขึ้นเล็กน้อยและมีแนวโน้มจะเป็นสาเหตุของอาการไม่สบายของระบบทางเดินอาหาร

●     แมกนีเซียมคลอไรด์ สามารถดูดซึมเข้าร่างกายได้ง่าย

●     แมกนีเซียมซิเตรท มีปริมาณใหญ่ที่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ มักนำมาใช้เพื่อการขับถ่าย

แมกนีเซียมและไมเกรน

จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าคนที่เป็นโรคไมเกรนมักมระดับของแมกนีเซียมต่ำกว่ากว่าคนทั่วไป จากการศึกษาหนึ่งพบว่าการรับประทานแมกนีเซียมเป็นประจำสามารถลดความถี่ในการเกิดอาการไมเกรนลงได้ถึง 41.6 เปอร์เซ็นต์ จากการวิจัยอื่นแสดงให้เห็นว่าการรับประทานอาหารเสริมแมกนีเซียมเป็นประจำทุกวันช่วยป้องกันการปวดศีรษะจากการมีประจำเดือนได้อย่างมีประสิทธิผล

แมกนีเซียมออกไซด์มักถูกนำมาใช้ในการป้องกันโรคไมเกรนบ่อยๆ คุณสามารถเลือกรับประทานในรูปแบบเม็ด ปริมาณที่ให้คำแนะนำไว้คือ 400 ถึง 500 มิลลิกรัมต่อวัน แมกนีเซียมสามารถฉีดเข้าเส้นเลือดดำในรูปแบบของแมกนีเซียมซัลเฟตได้

เพราะว่าแมกนีเซียมคือแร่ธาตุตามธรรมชาติและมีความจำเป็นเพื่อสุขภาพที่ดีของร่างกาย และยังมีความปลอดภัยในการรักษาอาการปวดหัวไมเกรน ที่อาจจะมีผลอื่น ๆ ทำให้ปวดตา ตาพร่ามัว ปวดขมับหรือปวดหัวข้างเดียว ทานยาแก้ปวดหัวทั่วไปจะไม่ดีขึ้น  โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับการรักษาไมเกรนด้วยยารักษาไมเกรน ซึ่งอาจส่งผลข้างเคียงที่รุนแรงได้มากกว่า

ผลข้างเคียงของแมกนีเซียม

แมกนีเซียมถือว่ามีความปลอดภัยสำหรับการรับประทาน แต่การรับประทานก็อาจส่งผลข้างเคียงได้ ผลข้างเคียงที่พบบ่อยๆคืออาการปวดท้องเกร็ง  อาเจียนและท้องเสีย หากมีอาการดังกล่าว ให้ลองลดปริมาณแมกนีเซียมลงเพื่อบรรเทาอาการ

ผลข้างเคียงอีกหนึ่งอย่างที่พบได้บ่อยเช่นกันคือระดับความดันโลหิตต่ำ หากคุณมีภาวะความดันโลหิตต่ำอยู่ก่อนแล้ว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานแมกนีเซียม

การรับประทานแมกนีเซียมมากเกินไปสามารถก่อให้เกิดการสะสมที่เป็นอันตราย เป็นผลให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น:

●     หัวใจเต้นผิดปกติ

●     ระดับความดันเลือดต่ำที่ไม่ปลอดภัย

●     การหายใจช้า

●     มีภาวะโคม่า

ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มการรับประทานแมกนีเซียมเพื่อสอบถามปริมาณการใช้ยาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

อาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียม

สำหรับคนที่ไม่ต้องการรับประทานอาหารเสริม อาหารตามธรรมชาติบางชนิดมีแมกนีเซียมเป็นส่วนประกอบ

ผักใบเขียวเข้มเช่นผักโขมและสวิสชาร์ดคือสุดยอดอาหารที่ดีที่สุดที่ควรรับประทาน ผัก 1 ถ้วยมีแมกนีเซียม 38 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ตามคำแนะนำในการรับประทนต่อวัน

อาหารอื่นๆที่มีแมกนีเซียมเป็นส่วนประกอบ เช่น:

●     เมล็ดพืช เช่นฟักทองหรือเมล็ดฟักทอง

●     อัลมอนด์

●     ปลาแมกเคลเรล, ทูน่าและปลาพอลลอค

●     โยเกิร์ตไขมันต่ำหรือคีเฟอร์

●     ถั่วดำหรือถั่วเลนทิล

●     อะโวคาโด

●     มะเดื่อ

●     กล้วย

●     ดาร์คช็อกโกแลต

ในขณะที่อาหารเสริมเป็นตัวมาช่วยเสริมเพิ่มพลัง แต่การได้รับแมกนีเซียมจากอาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียมคือสิ่งที่ดีที่สุด

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

คนที่ไม่ควรรับประทานแมกนีเซียม โดยเฉพาะคนที่มีภาวะโรคอยู่ก่อนแล้ว เช่น:

●     โรคเลือดออก ทำให้การแข็งตัวของเลือดช้า

●     โรคเบาหวาน การควบคุมโรคเบาหวานที่ไม่ดีส่งผลให้เกิดการสะสมแมกนีเซียมในร่างกาย

●     ภาวะสัญญานไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

●     มีปัญหาเกี่ยวกับไต รวมถึงไตวาย

หากมีภาวะเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารเช่น โรคลำไส้อักเสบหรือโรคติดเชื้อในกระเพาะอาหาร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานแมกนีเซียม โรคดังกล่าวสามารถส่งผลต่อการดูดซึมแมกนีเซียมของร่างกาย

แมกนีเซียมอาจก่อปฏิกิริยากับยารักษาโรคบางชนิด เช่น:

●     ยาปฏิชีวนะ

●     ยาขับปัสสาวะหรือยาขับน้ำ

●     ยาคลายกล้ามเนื้อ

●     ยารักษาโรคหัวใจ

หากคุณกำลังตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานแมกนีเซียม สำหรับหญิงตั้งครรภ์ปริมาณแมกซเซียมออกไซด์ในรูปแบบเม็ดที่รับประทานแล้วที่มีความปลอดภัยคือ 350 ถึง 400 มิลลิกรัมต่อวัน การได้รับแมกนีเซียมซัลเฟตทางหลอดเลือดดำไม่มีความปลอดภัย ส่งผลทำให้กระดูกของทารกบาง

ประเด็นสำคัญ

เมื่อมีการรับประทานแมกนีเซียมในปริมาณที่พอเหมาะ สามารถช่วยป้องกันโรคไมเกรนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะแมกนีเซียมส่งผลข้างเคียงน้อยกว่ายารักษาไมเกรนที่แพทย์สั่ง จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า

หากคุณเพิ่งเคยมีอาการไมเกรนครั้งแรก หรือหรือไมเกรนเริ่มมีความรุนแรงหรือเป็นบ่อยมากขึ้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอความช่วยเหลือ แพทย์จะช่วยประเมินปริมาณแมกนีเซียมที่ควรรับประทานเพื่อเป็นการดูแลและรักษา

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

●      https://www.nhs.uk/conditions/migraine/

●     https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/migraine-headache/symptoms-causes/syc-20360201

●     https://www.webmd.com/migraines-headaches/migraines-headaches-migraines

●     https://medlineplus.gov/migraine.html

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *