ไมเกรนคือ

ไมเกรน

ภาพรวม

โรคไมเกรนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดขมับและอาการปวดหัวอย่างรุนแรงหรือปวดเป็นจังหวะ มักปวดหัวข้างเดียว มักมีอาการร่วมคือ อาการคลื่นไส้  อาเจียนและมีความรู้สึกไวต่อแสงและเสียงมากกว่าปกติ โรคไมเกรนอาการมักมีอย่างต่ำหลายชั่วโมงจนถึงหลายวัน      และอาการไมเกรนนั้นมีความรุนแรงจนรบกวนการทำกิจวัตรประจำวัน

สำหรับบางคนอาจมีอาการเตือนล่วงหน้าคืออาการนำออร่าที่เกิดขึ้นก่อนการปวดศีรษะ อาการนำออร่าคืออาการรบกวนการมองเห็น เช่นเห็นแสงวาบหรือมีจุดบอด ตาพร่ามัว หรือการรบกวนอื่นๆเช่นอาการเสียวซ่าที่ใบหน้าด้านใดด้านหนึ่งหรือที่แขนหรือขา และมีปัญหาด้านการพูด

การรับประทานยาสามารถช่วยป้องกันอาการปวดหัวไมเกรนได้และอาจทำให้อาการปวดน้อยลง ด้วยการรับประทานยาที่เหมาะสมร่วมกับการดูแลตนเองและการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตก็อาจช่วยได้เช่นกัน

สาเหตุของโรคปวดหัวไมเกรน

ถึงแม้โรคไมเกรนยังเป็นโรคที่ไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่ชัดได้ก็ตาม แต่พบว่ายีนและปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอาจมีบทบาทที่สำคัญ

การเปลี่ยนแปลงของก้านสมองและการเกิดปฏิกิริยากับเส้นประสาทใบหน้าคู่ที่ 5  วิถีประสาทนำกระเสความรู้สึกปวดหลักอาจรวมอยู่ด้วย ดังนั้นอาจทำให้เคมีในสมองเกิดความไม่สมดุล-รวมไปถึงสารเซโรโทนิน ซึ่งเป็นตัวช่วยควบคุมความรู้สึกปวดในระบบประสาท

นักวิจัยกำลังทำการศึกษาบทบาทของสารเซโรโทนินที่มีต่อไมเกรน สารสื่อประสาทอื่นๆก็อาจมีส่วนในการปวดไมเกรนเช่นกัน เช่น สาร calcitonin gene-related peptide (CGRP)                     

สิ่งกระตุ้นอาการไมเกรน

สิ่งกระตุ้นการเกิดอาการไมเกรนของโรคไมเกรนมีมากมายหลายอย่าง รวมถึง:

●     การเปลี่ยแปลงฮอร์โมนในเพศหญิง ความผันผวนของฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่นช่วงก่อนหรือระหว่างมีรอบเดือน, ช่วงตั้งครรภ์และวัยหมดประจำเดือน ดูเหมือนจะเป็นตัวกระตุ้นให้มีอาการปวดหัวในเพศหญิงหลายๆคน
ยาฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนทดแทนแบบธรรมชาติ อาจทำให้อาการไมเกรนยิ่งแย่ลง แต่กระนั้นในผู้หญิงบางรายพบว่ามีอาการไมเกรนน้อยลงเมื่อรับประทานยาดังกล่าว

●     เครื่องดื่ม รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะไวน์ และการดื่มที่มีคาเฟอีนปริมาณมากเช่นกาแฟ

●     ความเครียด ความเครียดจากการทำงานหรือที่บ้านก็สามารถเป็นสาเหตุของการเกิดไมเกรนได้

●     สิ่งเร้า แสงจ้าและแสงสว่างอาจเป็นตัวชักนำให้เกิดอาการไมเกรน รวมถึงเสียงดัง กลิ่นแรงๆเช่นกลิ่นน้ำหอม  กลิ่นสี ควันบุหรี่และอื่นๆ-สามารถเป็นตัวกระตุ้นไมเกรนในบางคน

●     รูปแบบการนอนที่เปลี่ยนไป การไม่ได้นอน  การนอนมากเกินไปหรืออาการเจ๊ตแล๊กก็เป็นตัวกระตุ้นอาการไมเกรนในบางคนได้ รวมถึงอาการปวดหัว ปวดตา

●     ปัจจัยทางร่างกาย การใช้แรงทางร่างกายอย่างหนัก รวมไปถึงกิจกรรมทางเพศสัมพันธ์ก็อาจเป็นสิ่งเร้าให้เกิดอาการได้

●     อาการเปลี่ยนแปลงเมื่ออากาศหรือความกดอากาศมีการเปลี่ยนแปลง สามารถทำให้เกิดไมเกรนได้

●     ยารักษาโรค การรับประทานยาคุมกำเนิดและยาขยายหลอดเลือด เช่น ยาไนโตรกลีเซอรีน สามารถทำให้อาการไมเกรนแย่ลง

●     อาหาร ชีสและเกลือ และอาหารแปรรูปอาจกระตุ้นไมเกรน ดังนั้นควรรับประทานให้น้อยหรืองด

●     วัตถุเจือปนอาหาร รวมไปถึงสารเพิ่มความหวานแอสปาแตมและสารกันบูดโมโนโซเดียมกตูตาเมท (ผงชูรส) พบได้ในอาหารหลายชนิด

 

อาการไมเกรน

ไมเกรนมักเริ่มมีอาการตั้งแต่เด็ก, วัยหนุ่มสาวหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ: ระยะก่อนมีอาการ, ระยะอาการนำ, ระยะปวดศีรษะและระยะหลังมีอาการ ไม่ใช่ทุกคนจะต้องมีอาการไมเกรนครบทุกระยะ

ภาวะก่อนมีอาการ

ช่วงหนึ่งหรือสองวันก่อนมีอาการไมเกรน อาจสังเกตเห็นสัญญานเตือนของอาการไมเกรนที่กำลังจะเกิดขึ้น คือ:

●     ท้องผูก

●     อารมณ์เปลี่ยนแปลง ตั้งแต่ซึมเศร้าไปจนถึงภาวะเคลิ้มสุข

●     ความอยากอาหาร

●     คอแข็ง

●     ถ่ายปัสสาวะและรู้สึกกระหายเพิ่มขึ้น

●     หาวบ่อย

ระยะอาการนำ

ในบางรายภาวะอาการนำอาจเกิดขึ้นก่อนหรือระหว่างเกิดอาการไมเกรน ภาวะอาการนำคืออาการที่ผันกลับได้ของระบบประสาท ซึ่งมักเกิดขึ้นกับการมองเห็นแต่ก็อาจมีอาการรบกวนอื่นๆได้ ในแต่ละอาการมักเริ่มต้นทีละน้อย อาจใช้เวลาก่อตัวหลายนาทีและกินเวลานาน 20 ถึง 60 นาที

ตัวอย่างของอาการนำไมเกรน เช่น:

●     เกิดปรากฎการณ์การมองเห็น เช่นการมองเห็นรูปทรงต่างๆผิดขนาด,เห็นแสงเป็นจุดหรือแสงวาบ

●     สูญเสียการมองเห็น

●     รู้สึกเจ็บแปลบเหมือนเข็มทิ่มที่แขนหรือขา

●     อ่อนแรงหรือเป็นเหน็บชาที่ใบหน้าหรือข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย

●     การพูดลำบาก

●     ได้ยินเสียงหรือเสียงเพลง

●     เกิดการกระตุกหรือการเคลื่อนไหวอื่นๆที่ไม่สามารถควบคุมได้

การจู่โจม

โรคไมเกรนมักมีอาการกินเวลาตั้งแต่สี่ถึง 72 ชั่วโมงหากไม่ได้รับการรักษา การเกิดอาการไมเกรนจะเกิดขึ้นบ่อยหรือไม่ขึ้นอยู่แต่ละบุคคล โรคไมเกรนอาจเกิดขึ้นนานๆครั้งหรืออาจเกิดขึ้นหลายครั้งภายในหนึ่งเดือน

ในระหว่างเกิดอาการไมเกรน อาจมีอาการดังนี้:

●     มีอาการปวดศีรษะที่ข้างใดข้างหนึ่ง แต่อาจเกิดขึ้นทั้งสองข้างได้Pain usually on one side of your head, but often on both sides

●     ปวดหัวแบบตุบๆหรือเป็นจังหวะ

●     มีความไวต่อแสง, เสียงและบางครั้งอาจรวมไปถึงเรื่องของกลิ่นและสัมผัสด้วย

●     คลื่นไส้และอาเจียน

ระยะหลังมีอาการ

หลังจากโรคไมเกรนเข้าจู่โจม คุณอาจรู้สึกหมดแรง, สับสนและไร้เรี่ยวแรงไปตลอดทั้งวัน ในบางรายอาจรู้สึกครึ้มใจ การเคลื่อนไหวศีรษะอย่างกระทันหันอาจทำให้อาการปวดกลับมาได้อีกครั้ง

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร

ไมเกรนมักเป็นโรคที่ไม่ค่อยได้รับการวินิจฉัยและไม่ได้รับการรักษา หากคุณมีสัญญานและมีอาการไมเกรนบ่อยๆ ควรเก็บข้อมูลการเกิดอาการและวิธีการรักษาไว้ จากนั้นให้นัดแพทย์เพื่อปรึกษาอาการปวดศีรษะของคุณ

ถ้าหากคุณมีประวัติอาการปวดศีรษะ ควรพบแพทย์ถ้าหากอาการปวดศีรษะมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปหรืออาการปวดศีรษะเกิดรู้สึกแตกต่างอย่างฉับพลัน

ควรพบแพทย์หรือไปห้องฉุกเฉินทันที ถ้าหากคุณมีสัญญานและอาการดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นอาการที่อาจทำให้โรคที่มีปัญหามีความรุนแรงมากขึ้น:

●     เกิดอาการปวดศีรษะรุนแรงเหมือนฟ้าผ่าอย่างฉับพลัน

●     ปวดศีรษะพร้อมมีไข้  คอแข็ง  จิตใจสับสน  ชัก เห็นภาพซ้อน ตาพร่ามัว อ่อนแรง  เป็นเหน็บชาหรือการพูดลำบาก

●     มีอาการปวดศีรษะหลังได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ โดยเฉพาะหากอาการปวดศีรษะแย่ลง

●     มีอาการปวดศีรษะเรื้อรังซึ่งมีอาการแย่หลังหลังการไอ, การออกแรง, แรงดึงหรือเมื่อมีการเคลื่อนที่อย่างกระทันหัน

●     มีอาการปวดศีรษะใหม่ๆหลังอายุ 50 ปี

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยหลายอย่างที่เป็นแนวโน้มทำให้เกิดอาการไมเกรน รวมไปถึง:

●     ประวัติครอบครัว หากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นไมเกรน ก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคไมเกรนได้เช่นกัน

●     อายุไมเกรนสามารถเริ่มได้ในทุกช่วงวัย อาการครั้งแรกมักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่น ไมเกรนมีแนวโน้มจะมีอาการรุนแรงสุดในช่วงวัยระหว่าง 30 ปี และมักเริ่มจากรุนแรงน้อยและไม่บ่อยในช่วงแรก

●     เพศ ผู้หญิงมีโอกาสเป็นไมเกรนมากกว่าเพศชายถึงสามเท่า

●     การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน สำหรับผู้หญิงที่มีอาการไมเกรน, ปวดศีรษะอาจเริ่มมีอาการในช่วงสั้นๆก่อนหรือระหว่างมีรอบเดือน หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างการตั้งครรภ์หรือช่วงวัยหมดประจำเดือน อาการไมเกรนจะค่อยๆดีขึ้นหลังวัยหมดประจำเดือน

ภาวะแทรกซ้อน

การรับประทานยาแก้ปวด เช่น ยา Excedrin Migraine มากกว่า 10 วันต่อเดือนเป็นเวลา 3 เดือนหรือการรับประทานยาในปริมาณสูงมากก็สามารถกระตุ้นอาการปวดศีรษะจากการใช้ยามากเกินไปได้ เช่นเดียวกับการรับประทานยาแอสไพลินหรือไอบูโรเฟน (แอดวิล, มอทริน ไอบีและอื่นๆ) นานเกินกว่า 15 วันต่อเดือน หรือใช้ยาทริปแทน, ซูมาทริปแทน (Imitrex, Tosymra) หรือ ริซาทริปแทน (Maxalt) มากกว่า 9 วันต่อเดือน

อาการปวดศีรษะที่เกิดจากการใช้ยามากเกินไปเกิดขึ้นเมื่อตัวยาหยุดบรรเทาอาการปวด และเริ่มเป็นสาเหตุของการปวดศีรษะ จากนั้นก็จะใช้ยาแก้ปวดอีก ซึ่งก็จะกลายเป็นวงจรต่อไปเรื่อยๆ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

●     https://www.nhs.uk/conditions/migraine/

●     https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/migraine-headache/symptoms-causes/syc-20360201

●     https://www.webmd.com/migraines-headaches/migraines-headaches-migraines

●     https://medlineplus.gov/migraine.html

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *