ไมเกรนคือ

อาการปวดศีรษะ 10 ชนิด และการรักษา

ชนิดของการปวดศีรษะ

พวกเราส่วนใหญ่คุ้นเคยกันดีกับความรู้สึกปวดตุบๆ น่ารำคาญและกวนใจเรา นั่นคือการปวดศีรษะ ซึ่งมีหลายชนิด บทความนี้จะกล่าวถึงการปวดศีรษะ 10 แบบ คือ

●     ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์

●     ปวดศีรษะไมเกรน

●     ปวดศีรษะจากการแพ้หรือไซนัส

●     ปวดศีรษะจากฮอร์โมน

●     ปวดศีรษะจากคาเฟอีน

●     ปวดศีรษะจากการออกกำลังกาย

●     ปวดศีรษะจากความดันโลหิตสูง

●     ปวดศีรษะจากใช้ยาเกิน

●     ปวดศีรษะจากการกระทบกระเทือนของสมอง

●      ปวดศีรษะจากความเครียด

ในบางกรณี การปวดศีรษะที่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยบางประการอาจต้องการการรักษาทันที ควรรีบไปพบแพทย์หากท่านมีอาการดังต่อไปนี้:

●     คอแข็ง

●     มีผื่น

●     ปวดศีรษะมากผิดปกติ

●     คลื่นไส้ อาเจียน

●     สับสน

●     พูดช้า

●     มีไข้สูง 38 องศาหรือมากกว่า

●     อัมพาตที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือจู่ๆก็มองไม่เห็น

●     ปวดหัวตุบ ๆ ปวดหัวข้างเดียว สลับกันไปมา

หากการปวดศีรษะไม่รุนแรง ลองอ่านดูว่าอาการของผู้ป่วยเป็นชนิดไหนและควรดูแลตนเองอย่างไร

ปวดศีรษะแบบปฐมภูมิที่พบบ่อย

การปวดศีรษะแบบปฐมภูมิ คือปัญหาเกิดที่ศีรษะ ไม่ได้ถูกกระตุ้นจากสิ่งอื่นเช่นการเจ็บป่วยหรืออาการแพ้

การปวดแบบนี้ อาจปวดๆหายๆ หรือเป็นเรื้อรัง

●     การปวดศีรษะแบบปวดๆหายๆอาจเกิดบ่อย หรือนานๆครั้ง อาจปวดเพียงครึ่งชั่วโมงหรือนานหลายชั่วโมงก็ได้

●     ปวดศีรษะเรื้อรังจะเป็นสม่ำเสมอ เดือนหนึ่งจะปวดหลายวันและปวดติดต่อกันเป็นวันๆ ถ้าเป็นเช่นนี้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนการจัดการกับความเจ็บปวด

1. ปวดศีรษะจากความเครียด

มักมีอาการปวดตื้อ ปวดทั่วทั้งศีรษะ แต่ไม่ปวดตุบ อาจมีการปวดรอบคอ หน้าผาก หนังศีรษะ หรือกล้ามเนื้อไหล่ด้วย ทุกคนมักเคยปวดศีรษะแบบนี้ ส่วนใหญ่จะเกิดเมื่อเครียด

ยาแก้ปวดที่ขายในร้านขายยา ก็ช่วยลดปวดได้ เช่นยา:

●     แอสไพริน

●     ไอบูโพรเฟน

●     Naproxine

●     พาราเซตามอล

หากยาทั่วไปไม่ช่วยลดอาการ แพทย์อาจสั่งยาให้ เช่น indomethacin, meloxicam (Mobic), และ ketorolac

หากการปวดศีรษะเป็นเรื้อรัง ควรต้องตรวจหาสาเหตุ

2.ปวดศีรษะแบบ Cluster

มีอาการปวดแสบปวดร้อนและปวดจี๊ด เกิดที่รอบดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง บางครั้งอาจมีการบวม แดง วูบวาบ และเหงื่อออกที่ใบหน้าด้านนั้น อาจมีอาการคัดจมูกและน้ำตาไหลที่ใบหน้าด้านที่ปวดด้วย

 ความปวดมาเป็นชุดๆ ครั้งหนึ่งอาจปวดนานเกิน 15 นาทีถึง 3 ชั่วโมง คนส่วนใหญ่ปวดศีรษะหนึ่งถึงสี่ครั้งต่อวัน มักเป็นเวลาเดิมๆ พอเริ่มหายปวด ก็จะปวดใหม่อีก

ชุดของการปวดชนิดนี้ อาจเป็นทุกวัน ติดต่อกันเป็นเดือนๆ ในแต่ละชุด อาการปวดหายไปเป็นเดือนๆ พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงสามเท่า

แพทย์ยังไม่แน่ใจว่าสาเหตุเกิดจากอะไร แต่รู้วิธีที่ได้ผลในการรักษา แพทย์อาจให้ ออกซิเจนบำบัด ยา sumatriptan หรือยาชาเฉพาะที่ เพื่อลดความปวด

หลังจากวินิจฉัยได้แล้ว แพทย์จะวางแผนการป้องกัน การให้ Corticosteroids, melatonin, topiramate (Topamax), และ calcium channel blocker จะช่วยทำให้การปวดสงบลง

3. ไมเกรน

เป็นการปวดตุบๆรุนแรงจากส่วนลึกในศีรษะ ความปวดอาจยาวนานเป็นวันๆ ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่จะปวดศีรษะซีกใดซีกหนึ่ง และจะไวต่อแสงและเสียง มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย

ไมเกรนบางชนิดมีอาการทางตาด้วย หนึ่งในห้าของผู้ที่ปวดไมเกรนจะมีอาการเหล่านี้ก่อนเริ่มปวดศีรษะ เรียกว่า ออร่า:

●     แสงแวบๆ

●     แสงวูบวาบ

●     เห็นเส้นซิกแซก

●     เห็นดาว

●     เห็นภาพไม่เต็มจอ มีจุดดำมาปิด

ออร่าอาจมีอาการซ่าๆที่ใบหน้าซีกหนึ่ง หรือที่แขน และพูดลำบากด้วย แต่อาการนี้จะเหมือนอาการของเส้นเลือดในสมองตีบ แต่หากว่าท่านไม่เคยมีอาการเหล่านี้มาก่อน ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

ไมเกรนอาจเป็นพันธุกรรม หรือเกิดร่วมกับอาการทางระบบประสาท เพศหญิงมีโอกาสเกิดไมเกรนได้มากเป็นสามเท่าของเพศชาย ผู้ที่มีโรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรงมักมีความเสี่ยงเป็นไมเกรนมากกว่า

ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่พบบ่อยว่ากระตุ้นให้เกิดไมเกรน เช่น การนอนหลับไม่สนิท, ขาดน้ำ, อดอาหาร, อาหารบางชนิด, ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง และการสัมผัสสารเคมี

หากยาแก้ปวดทั่วไปไม่ช่วยลดการปวด แพทย์อาจสั่งยา triptan ซึ่งช่วยลดการอักเสบ และช่วยให้หลอดเลือดหดตัว มาในรูปของสเปรย์ฉีดจมูก ยาเม็ด และยาฉีด

ยาอื่นที่เป็นที่นิยม

●     sumatriptan (Imitrex)

●     rizatriptan (Maxalt)

●     rizatriptan (Axert)

หากมีอาการปวดศีรษะบ่อยๆ อย่านิ่งนอนใจ ควรปรึกษาแพทย์

ปวดศีรษะแบบทุติยภูมิที่พบบ่อย

ปวดแบบทุติยภูมิเป็นอาการแสดงว่า มีบางสิ่งในร่างกายที่ผิดปกติ อาจเป็นเรื้อรัง ต้องรักษาอาการต้นเหตุเพื่อจะได้หายปวดศีรษะ

4. ปวดศีรษะจากการแพ้ หรือไซนัส

บางครั้งการปวดศีรษะเป็นผลจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ ความปวดมักอยู่บริเวณไซนัส(โพรงอากาศข้างจมูก)และหน้าผาก

การปวดไมเกรนมักถูกวินิจฉัยผิดว่าเป็นการปวดไซนัส ที่จริงแล้ว มากกว่า90% ของปวดศีรษะไซนัสนั้น เป็นการปวดไมเกรน ผู้ที่มีอาการแพ้เรื้อรังหรือไซนัสอักเสบมักมีอาการปวดชนิดนี้

5. ปวดศีรษะจากฮอร์โมน

ผู้หญิงมักจะเคยปวดศีรษะแบบนี้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการขึ้นลงของฮอร์โมน.  การมีรอบเดือน, การกินยาคุมกำเนิด และการตั้งครรภ์ล้วนแต่มีผลต่อระดับเอสโตรเจน ซึ่งทำให้ปวดศีรษะได้ การปวดศีรษะที่สอดคล้องกับรอบประจำเดือนนี้เรียกอีกชื่อว่า ไมเกรนจากรอบเดือน มักเกิดก่อน ระหว่างหรือทันทีหลังรอบเดือน และระหว่างไข่ตก

ยาแก้ปวดทั่วไป เช่น naproxen หรือยาที่แพทย์สั่งเช่น frovatripan จะช่วยควบคุมความปวดได้

6. ปวดศีรษะจากคาเฟอีน

คาเฟอีนมมีผลต่อเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง การได้รับคาเฟอีนมากไปจะทำให้ปวดศีรษะ เช่นเดียวกับการหยุดคาเฟอีนทันที ผู้ที่ปวดไมเกรนบ่อยๆมีโอกาสเกิดการปวดศีรษะชนิดนี้

เมื่อท่านคุ้นเคยกับการกระตุ้นสมองด้วยคาเฟอีน(ซึ่งเป็นสารกระตุ้น)ทุกวันๆ ท่านอาจปวดศีรษะหากไม่ได้คาเฟอีน อาจเป็นเพราะคาเฟอีนเปลี่ยนแปลงสารเคมีในสมอง และการถอนคาเฟอีนจะกระตุ้นอาการปวดศีรษะ

แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เลิกคาเฟอีน จะปวดศีรษะ การกินคาเฟอีนในปริมาณปกคิ สม่ำเสมอหรือเลิกเสีย จะช่วยป้องกันการปวดศีรษะชนิดนี้

 7. ปวดศีรษะจากการออกกำลังกาย

จะปวดศีรษะทันทีหลังออกกำลังกายหนัก เช่น ยกนำ้หนัก,วิ่ง และการมีเพศสัมพันธ์ เชื่อว่าน่าจะเกิดจากกิจกรรมเหล่านี้ทำให้เลือดมาเลี้ยงสมองมากขึ้น ทำให้มีอาการปวดตุบๆทั่วศีรษะ

หากท่านปวดศีรษะแบบนี้ ควรปรึกษาแพทย์เพราะอาจมีโรคหรือปัญหาอื่นแฝงอยู่

8. ปวดศีรษะจากความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงทำให้ปวดศีรษะได้ และอาการปวดแบบนี้แสดงถึงภาวะฉุกเฉิน เพราะมันจะเกิดเมื่อความดันโลหิตสูงขั้นอันตราย

 ปวดศีรษะจากความดันโลหิตสูงมักเกิดทั้งสองข้างของศีรษะและจะเลวลงเมื่อมีการเคลื่อนไหว มักปวดตุบๆ และอาจมีการมองเห็นเปลี่ยนไป, ชาหรือซู่ซ่า, เลือดกำเดาไหล,เจ็บหน้าอกหรือหายใจลำบาก

หากท่านปวดศีรษะแบบนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที

9. ปวดศีรษะจากใช้ยาเกิน

เกิดจากการใช้ยาแก้ปวดที่บรรเทาอาการได้ในระยะเวลาสั้น เมื่อยาหมดฤทธิ์ก็จะปวดอีก เมื่อเกิดซ้ำๆ สมองจะสร้างตัวรับการปวดมากขึ้น แม้ไม่มีตัวกระตุ้นก็ปวดศีรษะได้ มีอาการปวดตื้อๆ บีบๆหรืออาจปวดรุนแรงเหมือนไมเกรนได้

การรักษาอย่างเดียวคือค่อยๆลดยาที่ใช้รักษาการปวด แม้ว่าแรกๆจะปวดมากขึ้น แต่จะลดลงได้ในสองสามวัน

10. ปวดศีรษะหลังสมองกระทบกระเทือน

การปวดชนิดนี้มักเกิดหลังจากบาดเจ็บที่ศีรษะ ปวดคล้ายไมเกรนหรือจากความเครียด มักเป็นนาน 6 ถึง12 เดือนหลังการบาดเจ็บ และอาจเป็นเรื้อรังได้

ยา Triptan, sumatriptan (Imitrex), beta-blockers, และamitriptyline จากแพทย์สั่งจะช่วยควบคุมการปวดได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

●     https://www.nhs.uk/conditions/migraine/

●     https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/migraine-headache/symptoms-causes/syc-20360201

●     https://www.webmd.com/migraines-headaches/migraines-headaches-migraines

●     https://medlineplus.gov/migraine.html

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *