ไมเกรนคือ

ไมเกรนที่ไม่มีอาการปวดศีรษะ

เป็นไมเกรนชนิดที่มีอาการเตือนแต่ไม่มีอาการปวดศีรษะ

อาการของไมเกรนที่ไม่แสดงอาการ

การเกิดไมเกรนมีสี่ระยะ ไมเกรนเงียบจะไม่มีระยะเตือน(prodrome) ระยะ aura(อาการทางสายตา) และระยะ postdrome คืออาการหลังจากการปวดศีรษะ ไมเกรนเงียบจะไม่มีอาการปวดศีรษะ ซึ่งเป็นอาการเด่นของโรคไมเกรนชนิดอื่น ๆ ทุกชนิด

ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่เป็นไมเกรนเงียบจึงไม่มีอาการปวดหัวข้างเดียวเหมือนไมเกรนชนิดอื่น และไม่มีอาการเช่น ไวต่อแสง เสียงและกลิ่นในขณะที่ไมเกรนขึ้นสูงสุดเหมือนไมเกรนชนิดอื่นๆด้วย

แม้ว่าจะไม่มีอาการปวดศีรษะ แต่ไมเกรนเงียบรบกวนการทำกิจวัตรประจำวันอย่างมาก การรบกวนการมองเห็นแบบ half-moon คือ ภาพหายไปครึ่งหนึ่งทั้งสองตา การมองเห็นสีผิดไป และปัญหาการมองเห็นอื่นๆ ทั้งหมดนี้ พบบ่อยมากในไมเกรนเงียบ

ไมเกรนเงียบมักเกิดนาน 15-30 นาที แต่ไม่เกิน 60 นาที อาจมีการเกิดซ้ำหรือเกิดครั้งเดียวแล้วหายไปก็ได้

สาเหตุของโรคไมเกรน

เช่นเดียวกับโรคไมเกรนชนิดอื่นๆ สาเหตุที่ทำให้เกิดไมเกรนเงียบก็ยังไม่เป็นที่เข้าใจถ่องแท้นัก ตัวกระตุ้นให้เกิดไมเกรนเงียบก็เหมือนกับของการปวดศีรษะแบบอื่นๆ รวมทั้งการอดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง นอนน้อย อาหารหรือแสงบางชนิด เหนือสิ่งอื่นใดคือความเครียด

ผู้มี่อายุเกิน 50 ปี มักมีอาการไมเกรนเงียบ และอาการนี้ยังเกิดได้ทั้งในคนที่เคยเป็นไมเกรนแบบปกติหรือเกิดขึ้นกับคนที่ไม่เคยเป็นมาก่อนก็ได้

เมื่อเกิดไมเกรนเงียบในผู้สูงอายุที่เคยเป็นไมเกรนมาก่อน จะพบว่าอาการ เช่น คลื่นไส้ อาเจียนและความไวต่อเสียงและแสง ตาพร่ามัว ดูจะลดลงไปตามอาการปวดศีรษะ

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยไมเกรนที่ไม่มีอาการปวดศีรษะนั้น ค่อนข้างยุ่งยากเป็นพิเศษ บางกรณีผู้ป่วยมักถูกวินิจฉัยผิดเป็นโรคลมชัก จากอาการทางระบบประสาทที่เกิดในขณะที่เป็นไมเกรน และยังวินิจฉัยผิดเป็น สมองขาดเลือดชั่วคราวหรือโรคเส้นเลือดสมองได้ด้วย

ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าไมเกรนเงียบยังต้องสงสัยว่าเป็นสาเหตุ เมื่อมีอาการทางระบบประสาท ไม่ว่าจะมีการปวดศรีษะหรือไม่ก็ตาม

 การรักษา

การรักษาไมเกรนเงียบจะรวมถึงการป้องกันที่ใช้ทั่วไปกับไมเกรนธรรมดา(ที่มีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย) เช่น การให้ยาลดความดันโลหิต ยาต้านเศร้าและยากันชัก

การรักษาใหม่ๆที่จะป้องกันไมเกรนทั้งที่มีและไม่มี aura เช่นยาพวก anti-CGRP (calcitonin gene-related peptide) และอุปกรณ์ชนิดใหม่คือCefaly (อุปกรณ์คาดศีรษะที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆไปกระตุ้นเส้นประสาท) ยังไม่เคยมีการลองศึกษาการใช้ในผู้ป่วยไมเกรนเงียบแต่อาจมีผลดีก็ได้

ควรปรึกษาแพทย์หากท่านมีอาการไมเกรนเงียบเกิดซ้ำๆ แพทย์อาจตรวจเพื่อวินิจฉัยแยกโรคจากโรคที่รุนแรงเช่นสมองขาดเลือดชั่วคราวหรือโรคชัก หากท่านได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไมเกรนเงียบ ควรต้องตรวจดูว่าตัวกระตุ้นการเกิดไมเกรนแบบดั้งเดิมชนิดไหนที่มีส่วนกระตุ้นการเกิดอาการไมเกรนเงียบ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

●     https://www.nhs.uk/conditions/migraine/

●     https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/migraine-headache/symptoms-causes/syc-20360201

●     https://www.webmd.com/migraines-headaches/migraines-headaches-migraines

●     https://medlineplus.gov/migraine.html

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *